เมนู

สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า ทุกฺเข
อนตฺตสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนัตตานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
ปหานสญฺญา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นใน ปหานานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
วิราคสญฺญา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในวิราคานุปัสสนาญาณ. คำเป็น
ต้นว่า อิเม โข อาวุโส พึงประกอบเข้ากับนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 130 ด้วยสามารถแห่งปัญจกะ 26 ชื่อว่าแสดง
สามัคคีรสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบหมวด 5

ว่าด้วยธรรมหมวด 6



พระเถระ ( พระสารีบุตร ) ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถ
แห่งธรรมหมวดห้า ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส
ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหก จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺติกานิ ได้แก่อายตนะภายใน.
บทว่า พาหิรานิ ได้แก่ อายตนะที่มีในภายนอกจากอายตนะภายในนั้น.
ส่วนว่า อายตนะกถาโดยพิสดาร ข้าพเจ้า ( พระพุทธโฆษาจารย์ ) กล่าวไว้
ในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิญฺญาณกายา ได้แก่ หมู่แห่งวิญญาณ.
บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ ได้แก่ วิญญาณที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก
อันอาศัยจักษุประสาท. ในวิญญาณทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันอาศัยจักษุ. แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้น

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสทั้งปวงที่เหลือ
เว้นสัมผัส 10 เหล่านี้เสีย ชื่อว่า มโนสัมผัส. แม้หมวดหกแห่งเวทนา
บัณฑิต ก็พึงทราบ โดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า รูปสญฺญา ได้แก่
สัญญาที่กระทำรูปให้เป็นอารมณ์บังเกิดขึ้น. แม้สัญญาที่เหลือ บัณฑิต
ก็พึงทราบโดยอุบายนี้. แม้ในหมวดหกแห่งเจตนา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในหมวดหกแห่งตัณหาก็เหมือนกัน.
บทว่า อคารโว ได้แก่ เว้นจากความเคารพ. บทว่า อปฺปฏิสฺโส
ได้แก่ ไม่ยำเกรง คือไม่ประพฤติอ่อนน้อม. ก็ภิกษุใด ในพระศาสนานี้
ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ย่อมไม่ไปสู่ที่บำรุง ในกาลทั้ง
3 ครั้นเมื่อพระศาสดาไม่สวมรองเท้า เสด็จจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าจงกรม
ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ ในที่จงกรมต่ำ ก็จงกรมในที่จงกรมสูง
ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเบื้องล่าง ก็อยู่ในเบื้องบน ในที่เห็นพระ
ศาสดา ก็ห่มคลุมไหล่ ทั้งสอง กั้นร่ม สวมรองเท้า อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ
หรือปัสสาวะ. ก็หรือว่า ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่
ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ กระทำกิจทั้งปวงตามที่กล่าวแล้ว ในที่พระเจดีย์
ยังปรากฏอยู่ ( หรือ ) ในที่เห็นพระศาสดา ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพใน
พระศาสดา.
ก็ภิกษุใด ครั้นเมื่อเขาประกาศการฟังธรรม ก็ไม่ไปโดยเคารพ
ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ นั่งคุยฟุ้งอยู่ ไม่เรียน ไม่บอก โดยเคารพ ภิกษุนี้
ชื่อว่า ไม่เคารพในพระธรรม. ก็ภิกษุใด อันภิกษุผู้เถระ มิได้เชื้อเชิญ
ก็แสดงธรรม นั่ง กล่าวปัญหา เบียดภิกษุผู้เฒ่าไป ยืน นั่ง กระทำการ

รัดเข่าด้วยผ้าหรือด้วยมือ ในท่ามกลางสงฆ์ ก็ห่มคลุมไหล่ทั้งสอง กั้นร่ม
หรือสวมรองเท้า ภิกษุนี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระสงฆ์. ก็เมื่อภิกษุกระทำ
ความไม่เคารพแม้ในภิกษุรูปเดียว ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ก็จัดว่า
เป็นอันเธอกระทำแล้ว เหมือนกัน. ส่วนภิกษุผู้ไม่ยังสิกขาทั้ง 3 ให้บริบูรณ์
อยู่นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา. ภิกษุผู้ไม่ตามพอกพูนซึ่งลักษณะ
แห่งความไม่ประมาท ชื่อว่า ไม่เคารพในความไม่ประมาท. ภิกษุ เมื่อไม่
กระทำปฏิสันถาร แม้ทั้ง 2 อย่าง ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถาร. ความ
เคารพ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งนัยตรงกันข้ามตามที่กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า โสมนสฺสูปวิจารา ได้แก่ วิจาร ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส.
บทว่า โสมนสฺสฏฺฐานียํ คือ เป็นเหตุแห่งโสมนัส. บทว่า อุปวิจรติ
ได้แก่ ตรึกด้วยวิตก ( ก่อน ) แล้วจึงกำหนดด้วยวิจาร. ในคำที่เหลือ
ทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้โทมนัสสูปวิจาร บัณฑิตก็พึงทราบอย่างนั้น
นั้นแหละ. อุเปกขูปวิจาร ก็เหมือนกัน. สาราณียธรม ท่านให้พิสดาร
ในหนหลัง. ส่วน ปฐมมรรค ท่านกล่าวไว้ ในโกสัมพิกสูตร ด้วยบทนี้
ว่า ทิฏฺฐิสามญฺญคโต มรรค แม้ทั้ง 4 ท่านกล่าวไว้ในที่นี้.
บทว่า วิวาทมูลานิ ได้แก่ มูลแห่งวิวาท. บทว่า โกธโน ได้แก่
ผู้ประกอบด้วยความโกรธ อันมีความเกรี้ยวกราดเป็นลักษณะ. บทว่า
อุปนาหี ได้แก่ ประกอบด้วยความเข้าไปผูกโกรธไว้ อันมีการไม่สลัดการ
จองเวรกันเป็นลักษณะ. หลายบทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ
ได้แก่ วิวาท แห่งภิกษุทั้งสอง ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร. เหมือนอย่างใน
โกสัมพิกขันธกะ เมื่อภิกษุ 2 รูป วิวาทกัน พวกอันเตวาสิกของเธอทั้งสอง
นั้น ในวิหารนั้นก็วิวาทกัน. ภิกษุณีสงฆ์ ผู้รับโอวาทของพวกภิกษุเหล่านั้น
ก็วิวาทกัน แต่นั้นพวกอุปัฏฐากของภิกษุเหล่านั้น ก็วิวาทกัน. ลำดับนั้น
เหล่าอารักขเทวดา ของพวกมนุษย์ก็ ( แยก ) เป็นสองฝ่าย. บรรดาเทวดา
เหล่านั้น เหล่าอารักขเทวดา ของพวกมนุษย์ผู้เป็นธรรมวาที ก็เป็นธรรมวาที
ด้วย. สำหรับพวกมนุษย์ผู้เป็นอารักขมวาที ก็เป็นอธรรมวาทีตาม. จากนั้น
เหล่าภุมมเทวดา ผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา จึงแตกกัน. เทวดาและมนุษย์
ทั้งหมด ยกเว้นพระอริยสาวกเสีย ต่อ ๆ กันไป จนกระทั่งถึงพรหมโลก
ก็ ( แยก ) เป็นสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้. ก็พวกที่เป็นอธรรมวาทีเทียว
มีจำนวนมากกว่าพวกธรรมวาที. ลำดับนั้น พวกเทวดาและมนุษย์ก็
ปรารถนาที่จะยึดถือสิ่งที่ชนเป็นอันมากพากันยืดถือ พวกอธรรมวาทีที่มาก
กว่า นั่นแหละ ก็แก้สภาพที่เป็นธรรมแล้ว พากันยึดถือสภาพที่มิใช่ธรรม.
พวกอธรรมวาทีเหล่านั้น กระทำสภาพที่มิใช่ธรรมให้อยู่ในเบื้องหน้ากล่าว
อยู่ จึงบังเกิดในอบายทั้งหลาย. วิวาทของภิกษุทั้งสองฝ่าย ย่อมมีเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ได้แก่ ในภายในบริษัทของท่าน. บทว่า
พหิทฺธา ได้แก่ ในบริษัทของชนเหล่าอื่น. บทว่า มกฺขิ ได้แก่ ผู้ประกอบ
ด้วยความลบหลู่ อันมีการลบหลู่คุณของชนเหล่าอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า
ปลาสิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการตีตนเสมอ อันมีการแข่งดีเป็นลักษณะ.
บทว่า อิสฺสุกิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความริษยา อันมีการริษยา เครื่อง
สักการะของชนอื่นเป็นต้นเป็นลักษณะ. บทว่า มจฺฉริ ได้แก่ ผู้ประกอบ

ด้วยความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น. บทว่า สโฐ ได้แก่ ผู้เต็มไปด้วยการ
หลอกลวง ( ผู้โอ้อวด ). บทว่า มายาวี ได้แก่ ผู้ปกปิดความชั่วที่ตัวกระทำ
แล้ว. ทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ผู้ปรารถนาจะให้มีในสิ่งที่ไม่มี คือ ผู้ทุศีล.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐ ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวว่าไม่มี ผู้มีปกติกล่าวว่าหาเหตุมิได้
ผู้มีปกติกล่าวว่าไม่เป็นอันทำ ฯ บทว่า สนฺทิฏฺฐิปรามาสิ คือ ลูบคลำ
ทิฏฐิเองทีเดียว ฯ บทว่า อาธานคฺคาหี คือ ผู้ยึดถืออย่างมั่น ฯ บทว่า
ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี ได้แก่ ไม่อาจที่จะสละสิ่งที่ตนยึดถือไว้ ฯ
ธาตุที่ตั้งอยู่เฉพาะชื่อว่า ปฐวีธาตุ ฯ ธาตุที่เอิบอาบชื่อว่า อาโปธาตุ ฯ
ธาตุที่ยังอาหารให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ ฯ ธาตุที่เคลื่อนไหวได้ ชื่อว่า
วาโยธาตุ ฯ ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ชื่อว่า อากาสธาตุ ฯ ธาตุที่รู้ชัดอย่างเดียว
ชื่อว่า วิญญาณธาตุ ฯ
ธาตุที่พ้นออกไป ชื่อว่า นิสสารณียธาตุ. หลายบทว่า ปริยาทาย
ติฏฺฐติ
ได้แก่ ครอบงำให้เสื่อมแล้วคงอยู่. หลายบทว่า มา เหวนฺติสฺส
วจนีโย
ได้แก่ เพราะเหตุที่ภิกษุพยากรณ์ ซึ่งคำพยากรณ์อันไม่เป็นจริง
ฉะนั้น พึงถูกกล่าวว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้. สองบทว่า ยทิทํ เมตฺตาเจ-
โตวิมุตฺติ
ได้แก่ เมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งความ
พยาบาท. อธิบายว่า ออกไปจากความพยาบาท. ก็ภิกษุใด ออกจากติกฌาน
หรือจตุกกฌานด้วยเมตตาแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุตติยมรรค
แล้ว เห็นพระนิพพานด้วยตติยผลว่า พยาบาทไม่มีอีก จิตของภิกษุนั้น
ชื่อว่า เป็นจิตที่สลัดออกซึ่งความพยายามโดยส่วนเดียว. บัณฑิตพึงทราบ
เนื้อความในบททั้งปวง โดยอุบายนี้. สมาบัติของพระอรหัตผล ชื่อว่า

อนิมิตตา เจโตวิมุตติ. ก็สมาบัติของพระอรหัตตผลนั้น ท่านเรียกว่า ไม่
มีนิมิต เพราะไม่มีราคนิมิตเป็นต้น เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น และเพราะ
ไม่มีนิจจนิมิตเป็นต้น. บทว่า นิมิตฺตานุสารี ความว่า ภิกษุผู้แล่นไปตาม
นิมิต อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า นิมิตตานุสารี
( ผู้แล่นไปตามนินิต). บทว่า อสฺมิได้แก่ การถือว่าเรามีอยู่ (อัสมิมานะ).
บทว่า อยมหมสฺมิ ได้แก่ พระอรหัตต์เป็นอันท่านพยากรณ์แล้ว ด้วย
คำมีประมาณเท่านี้ว่า เราชื่อนี้มีอยู่ในขันธ์ห้า. บทว่า วิจิกิจฺฉากถํกถา-
สลฺลํ
ได้แก่ ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัย อันเป็นตัววิจิกิจฉา.
หลายบทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่า วิจิกิจฉา อันควร
กำจัดด้วยปฐมมรรค จะบังเกิดขึ้น แก่ท่านไซร้ การพยากรณ์พระอรหัตต์
ก็เป็นอันผิด เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นพึงถูกห้ามว่า ท่านอย่ากล่าวคำที่ไม่จริง.
บทว่า อสฺมิ ความว่า พระอรหัตมรรค ชื่อว่า ถอนมานะเสียได้. ก็
เมื่อบุคคลเห็นพระนิพพาน ด้วยอำนาจแห่งพระอรหัตผลแล้ว อัสมิมานะ
( ความถือตัวว่าเรามีอยู่ ) ย่อมไม่มีอีก เพราะเหตุนั้น พระอรหัตมรรค
ท่านจึงกล่าวว่า ถอนอัสมิมานะเสียได้.
บทว่า อนุตฺตริยานิ ได้แก่ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า คือประเสริฐ
ที่สุด. ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่าในการเห็นทั้งหลาย ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ.
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาการเห็นเหล่านั้น การเห็น
ช้างแก้วเป็นต้น ไม่จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ. ส่วนว่าสำหรับผู้มีศรัทธา
ตั้งมั่นแล้ว การเห็นพระทศพล. หรือพระภิกษุสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่งความรัก
ที่ตั้งมั่นแล้ว หรือว่า การเห็น บรรดากสิณนิมิตและอสุภนิมิตเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. การฟังคุณกถาของกษัตริย์
เป็นต้น ไม่จัดเป็นสวนานุตตริยะ. ส่วนสำหรับผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว การฟัง

คุณกถาของพระรัตนตรัย ด้วยอำนาจแห่งความรักที่ตั้งมั่นแล้ว หรือว่า
การฟังพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฏก ชื่อว่า สวนานุตตริยะ. การได้รัตนะ
คือ แก้วมณีเป็นต้น ไม่จัดเป็นลาภานุตตริยะ. ส่วนการได้อริยทรัพย์
7 อย่าง ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. การศึกษาศิลปะ มีศิลปะเพราะช้างเป็นต้น
ไม่จัดเป็น สิกขานุตตริยะ. ส่วนการบำเพ็ญสิกขาทั้ง 3 ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า
สิกขานุตตริยะ. การบำเรอกษัตริย์เป็นต้น ไม่จัดเป็นปาริจริยานุตตริยะ.
ส่วนการบำเรอพระรัตนตรัย ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ. การตามระลึกถึง
คุณของกษัตริย์ เป็นต้น ไม่จัดเป็นอนุสสรณานุตตริยะ ( อนุสสตา-
นุตตริยะ ). ส่วน การตามระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ชื่อว่า อนุสสร-
ณานุตาริยะ ( อนุสสตานุตตริยะ ).
อนุสสติทั้งหลายเทียว ชื่อว่า อนุสสติฐาน ( ที่ตั้งแห่งความ
ระลึกถึง ). การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. ก็
เมื่อบุคคลระลึกถึงอยู่อย่างนี้ ปีติ ย่อมบังเกิดขึ้น. บุคคลนั้น เริ่มตั้งปีตินั้น
โดยความสิ้นไปโดยความเสื่อมไป ย่อมบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้.
ธรรมดาว่า อุปจารกัมมัฏฐานนี้ แม้คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ก็ย่อมได้ ( บรรลุได้ )
ในกัมมัฏฐานทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนกถาโดยพิสดาร บัณฑิต
พึงทราบ โดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
การอยู่ประจำของพระขีณาสพ ชื่อว่า สตตวิหาร. หลายบทว่า
จกฺขุนา รูปํ ทิสิวา ความว่า ครั้นเมื่ออารมณ์แห่งจักขุทวาร ไปสู่คลอง
ภิกษุเห็นรูปนั้น ด้วยจักขุวิญญาณแล้ว ไม่ยินดีในชวนะขณะที่น่ายินดี
ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่ประทุษร้ายในชวนะขณะที่ไม่น่ายินดี ย่อมเป็นผู้ไม่
เสียใจ ไม่ยังโมหะให้บังเกิดขึ้น ในเพราะการเพ่งที่ไม่สม่ำเสมอ วางเฉย

มีตนเป็นกลางอยู่ มีสติ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสติ มีสัมปชัญญะ
เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุ ย่อมวางเฉยอยู่ แม้ในทวารทั้ง 6 ด้วยประการ
ฉะนี้. ท่านกล่าว ฉฬังคุเบกขา ไว้ด้วยบทนี้. ก็เพราะคำว่า สมฺปชาโน
บัณฑิตย่อมได้ ญาณสัมปยุตตจิต 4 ดวง. คำว่า สตตวิหารา บัณฑิต
ย่อมได้ มหาจิต แม้ทั้ง 8 ดวง. เพราะคำว่า อรชฺชนฺโต อทุสฺสนฺโต
บัณฑิตย่อมได้จิต แม้ทั้ง 10 ดวง. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า โสมนัส
จะมีได้อย่างไร. แก้ว่า มีได้เพราะอาเสวนะ.
ชาติทั้งหลายชื่อว่า อภิชาติ. สองบทว่า ภณฺหาภิชาติโก สมาโน
ความว่า ผู้เกิดแล้วในที่ดำ คือในตระกูลต่ำ. หลายบทว่า กณฺหํ ธมฺมํ
อภิชายติ
ความว่า ย่อมประสบ คือกระทำ ธรรมคือความเป็นผู้ทุศีล 10
ประการ อันเป็นธรรมฝ่ายดำ. บุคคลนั้นประสบธรรม คือความเป็นผู้ทุศีล
10 ประการนั้นแล้ว ย่อมบังเกิดในนรก. สองบทว่า สุกฺกํ ธมฺมํ ความว่า
เราเกิดแล้วในตระกูลต่ำ เพราะความที่ไม่ได้กระทำบุญไว้ แม้ในกาลก่อน
บัดนี้ เราจักทำบุญ เพราะเหตุนั้น เขาย่อมประสบธรรมฝ่ายขาว กล่าว
คือบุญ. บุคคลนั้น ย่อมบังเกิดในสวรรค์ ด้วยธรรมฝ่ายขาว กล่าวคือ
บุญนั้น. หลายบทว่า อกณฺหํ อสุกฺกํ นิพฺพานํ ความว่า ก็พระนิพพาน
หากว่า จะพึงเป็นธรรมฝ่ายดำไซร้ ก็จะพึงให้วิบากที่ดำ หากว่าจะพึงเป็น
ธรรมฝ่ายขาวไซร้ ก็จะพึงให้วิบากที่ขาว แต่ เพราะไม่ให้วิบากแม้ทั้ง 2
พระนิพพาน ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ดำ ไม่ขาว. ก็ธรรมดาว่า พระนิพพาน
ท่านประสงค์เอาพระอรหัตต์ในอรรถนี้ . จริงอยู่ พระอรหัตต์นั้น ชื่อว่า
พระนิพพาน เพราะเกิดในที่สุดแห่งการดับกิเลส บุคคลนั้นย่อมพบ คือ
ประสบ กระทำ พระนิพพานนั้น. สองบทว่า สุกฺกาภิชาติโก สมาโน

ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วในที่ขาว คือในตระกูลสูง. คำที่เหลือ บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเเล.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยา ความว่า พระนิพพาน ท่านเรียกว่า
นิพเพธ. ชนทั้งหลาย ย่อมคบคือ ย่อมเข้าไปใกล้ พระนิพพานนั้น
เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า นิพเพธภาคิยา ( ส่วนแห่งการแทงตลอด). อนิจจ-
สัญญาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในหนวดห้า. ความกำหนดหมายในนิโรธา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า นิโรธสัญญา. คำเป็นต้นว่า อิเม โข อาวุโส
บัณฑิต ที่ประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระ กล่าวอยู่ซึ่ง
ปัญหา 132 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหก 22 หมวด แสดงสามัคคี-
รส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด 6

ว่าด้วยธรรมหมวด 7



พระเถระครั้นแสดง สามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา
ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดา
อริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะ
ว่า สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บำเพ็ญ จริต 3 ศีล 5 ศีล 10
ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์